N.ampullaria หม้อข้าวหม้อแกงลิงสายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทย

หม้อข้าวหม้อแกงลิง N.ampullaria
สารบัญบทความ
หม้อข้าวหม้อแกงลิง N.ampullaria

ประเทศไทย เป็นหนึ่งในพื้นที่เขตร้อนบนโลกที่มีสภาพแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชและสัตว์นานาชาติ ซึ่ง หม้อข้าวหม้อแกงลิง ก็เป็นอีกหนึ่งพืชกินแมลงที่เราสามารถพบเห็นได้ทั่วไปในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งในปัจจุบันมีต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงมากกว่า 100 ชนิดและมักถูกค้นพบชนิดใหม่เรื่อย ๆ ทุกปี 

ในวันนี้เราจะขอพูดถึงต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง สายพันธุ์ที่เรามักจะพบเห็นบ่อย ๆ ในประเทศไทย อย่าง N.ampullaria หรือต้นหม้อแกงลิง เป็นพืชในสกุลหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่มีการวิวัฒนาการแตกต่างจากพืชชนิดอื่นในสกุลเดียวกัน ซึ่งพืชชนิดนี้จะมีวิวัฒนาการ และลักษณะอย่างไรติดตามได้ในบทความนี้ พร้อมกับแนะนำวิธีเลี้ยง และวิธีขยายพันธุ์ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่ถูกต้อง ซึ่งจะเป็นอย่างไรบ้างนั้น มาติดตามไปพร้อม ๆ กันเลย

NEPENTHES AMPULLARIA
N.ampullaria

ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง คืออะไร?

หม้อข้าวหม้อแกงลิง เป็นหนึ่งในพืชกินแมลง ที่กระจายพันธุ์อยู่ในเขตร้อนชื้น โดยเฉพาะพื้นที่ราบลุ่ม โดยทั่วไปไปพืชในสกุลหม้อข้าวหม้อแกงลิงจะมีโพรงช่องว่างที่เกิดจากใบประกบกันมีลักษณะคล้ายกับหม้อ หรือที่หลายคนเรียกว่ากับดักแบบหลุมพราง ซึ่งสันนิษฐานว่ามีวิวัฒนาการมาจากแรงกดดันในระยะเวลายาวนาน เช่น การขาดสารอาหารในดิน 

จึงทำให้พืชสายพันธุ์นี้เกิดการสร้างใบในรูปแบบที่มีลักษณะคล้ายหม้อ เพื่อใช้สามารถดักจับแมลงหรือเหยื่อที่มีพฤติกรรม, บิน, คลาน และไต่ได้ จากนั้นก็จะเริ่มเข้าสู่กระบวนการย่อย และดูดซึมสารอาหารจากแมลงไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ หม้อข้าวหม้อแกงลิงประโยชน์หลักๆคือ เป็นพืชพันธุ์ไม้ที่นิยมนำมาประดับตกแต่ง และกำจัดแมลง อีกทั้งยังเป็นพืชที่มีความสำคัญต่อระบบห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศที่คอยช่วยลดปริมาณของแมลงที่เป็นพาหะได้เป็นอย่างดี 

หม้อข้าวหม้อแกงลิง N.ampullaria สายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทย

หม้อแกงลิง หรือชื่อวิทยาศาสตร์ NEPENTHES AMPULLARIA เป็นอีกหนึ่งพืชในสกุลหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทย หลายคนมักเรียกว่า ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง ซึ่งพืชชนิดนี้จะบริโภคแมลงและซากอินทรีย์จากเศษใบไม้ที่ร่วงลงไปในกับดักของมัน โดยจุดเด่นของพืชชนิดนี้จะผลิตเหยือกขนาดเล็กรูปทรงกลมประมาณ 1 ถึง 3 นิ้ว (2.5-7.5 ซม.) มีเฉดสีสันหลากหลาย 

N.ampullaria เป็นพืชที่มีวิวัฒนาการแตกต่างจากพืชชนิดอื่นในสกุลเดียวกัน พวกมันมีหน้าที่รับผิดชอบการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตหลายสายพันธุ์ในอยู่ร่วมกันได้และมีเอกลักษณ์ในการกำจัดสิ่งมีชีวิตมากกว่า 60 ชนิด เพื่อรักษาความสมดุลในระบบนิเวศ โดยทั่วไปเรามักจะพบเห็นต้นหม้อแกงลิง กระจายพันธุ์อยู่ในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดสงขลา สตูล ปัตตานี นราธิวาส ไปจนถึงในต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย สิงค์โปร์ เกาะบอร์เนียว เกาะสุมาตรา และเกาะนิวกินี

หม้อแกงลิง N. AMPULLARIA
N. AMPULLARIA หรือที่นิยมเรียกว่า หม้อแกงลิง

ลักษณะของ N.ampullaria

สำหรับลักษณะของ N.ampullaria เป็นไม้เลื้อยหรือเกาะกันเป็นพุ่มเล็กแน่นและอาจกระจายยาวได้ถึง 10 เมตร ส่วนลักษณะทางกายภาพ มีดังนี้

ใบ 

เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ขอบใบเรียบ และแผ่นใบหนา มีขนนุ่มปกคลุมผิวใบ ปลายใบยืดยาวออกเป็นสาย เรียกว่า มือพัน หรือสายดิ่ง โดยมีความยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ส่วนปลายพองออกเป็นกระบอกดักเหยื่อหรือ “หม้อ” เมื่อต้นมีขนาดใหญ่มักมีหม้อผุดขึ้นที่โคนต้นและบริเวณไหล โดยทั่วไปลักษณะใบจะมี 2 รูปแบบตามอายุของพืช ได้แก่

  1. ใบเจริญเติบโตแล้วมีลักษณะเป็นหม้อค่อนข้างกลมหรือคล้ายรูปไข่ยาว 2-10 ซม. มีสีน้ำตาลอมแดง หรือมีจุดสีเขียว และส่วนใหญ่ปากหม้อจะหันเข้าหาสายดิ่ง
  2. ใบอ่อนมีลักษณะหม้อขนาดเล็กมากจนมองไม่เห็น อยู่บริเวณด้านบนของลำต้น ใบจะแคบและยาวมีขนาดประมาณ 25 X 6 ซม. ที่ปลายขยายเป็นเส้นเอ็นเรียวยาวม้วนงอ 

ดอก

หม้อข้าวหม้อแกงลิงจะออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะหรือช่อแยกแขนง ซึ่งแต่ละแขนงย่อยมี 1-3 ดอก และแต่ละดอกมีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ช่อดอกเพศผู้มีขนาดใหญ่และมีจำนวนดอกมากกว่าช่อดอกเพศเมีย เมื่ออับเรณูส่วนปลายพร้อมผสมจะแตกออกเป็นดอกสีเขียวกว้าง 1.3 ซม. และเกิดบนยอดยาวได้ถึง 45 ซม. ส่วนดอกขนาดเล็ก สีเหลือง ไม่มีกลีบดอก ออกเป็นช่อกระจุกยาวได้ถึง 45 ซม. เป็นพืชที่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยทั่วไปดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะแยกออกจากกัน นั่นคืออยู่คนละต้นนั่นเอง การปฏิสนธิตามธรรมชาติของดอกจึงมักเกิดขึ้นปีละครั้งสองครั้งเท่านั้น 

ผล 

สำหรับการออกผล จะออกเป็นฝักรูปวงรีเรียวยาวประมาณ 2.5 ซม. ฝักที่แก่จะมีสีน้ำตาลและแตกออกเป็น 4 พู ภายในมีเมล็ดเล็ก ๆ คล้ายเส้นด้ายประมาณ 50-500 เมล็ด เมื่อสุกเต็มที่จะแยกออกเป็นสี่ซีกเพื่อปล่อยเมล็ดเล็ก ๆ ออกมาคล้ายกับด้ายที่กระจายไปตามลม

ดอกเพศผู้ของ NEPENTHES AMPULLARIA
ดอกเพศผู้ของ N.ampullaria

วิธีการเลี้ยง N.ampullaria ให้เจริญเติบโตเต็มที่

โดยปกติต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง เป็นพืชกินแมลงที่สามารถอยู่รอดได้ในสภาพอากาศร้อนชื้น ปลูกง่ายในดินร่วนซุย ดินเปรี้ยว (pH ต่ำ) และดินที่ระบายน้ำได้ดี และจะเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ภายใต้สภาวะแสงแดดจัดประมาณ 50-80 % และควรได้แสงแดดไม่น้อยกว่า 5 ชม. ต่อวัน

ผู้เลี้ยงควรหลีกเลี่ยงการใส่ปุ๋ยโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับปุ๋ยเคมี เพราะมันอาจจะทำให้พืชไหม้หรือตายได้ และส่งผลให้ใบไม้ของพืชเติบโตมากเกินไป แต่ไม่เกิดกระบอกกับดักเหยื่อหรือ “หม้อ” หากจำเป็นให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีความเจือจางในส่วนของการให้น้ำ ถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงเป็นอย่างมาก เพราะพืชชนิดนี้ชอบอยู่ในดินที่มีความชื้น ถ้าดินแห้งแม้แต่วันเดียวระบบรากอาจจะเสียไปได้ ดังนั้น ผู้เลี้ยงควรหมั่นรดน้ำให้ดินมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ

NEPENTHES AMPULLARIA การเลี้ยง
NEPENTHES AMPULLARIA

การขยายพันธุ์ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงให้มีประสิทธิภาพที่สุด

สำหรับขั้นตอนการ ขยายพันธุ์ ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง โดยทั่วสามารถทำได้หลายวิธีไม่ว่าจะเป็นการตอน ปักชำ เพาะเมล็ด และแยกหนอ แต่โดยส่วนใหญ่จะใช้วิธีการปักชำปลายด้วยการปักชำ 4 โหนด (ปลายที่กำลังเติบโตและใบ 3 ใบด้านล่าง) เพื่อป้องกันไม่ให้ปลายอ่อนเน่า เมื่อเริ่มเป็นต้นกล้าก็สามารถตัดโหนดเดียวจากส่วนล่างมาปลูกไว้ใต้ดินหรือแยกใส่กระถางได้เลย แต่ถ้าหากต้องการเพิ่มปริมาณก็ให้เลือกขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด 

บทความที่เกี่ยวข้องอื่นๆ

RECENT POSTS