N.mirabilis หม้อข้าวหม้อแกงลิงพันธุ์ไทยที่ให้ หม้อดก โตเร็ว

Nepenthes mirabilis
สารบัญบทความ
Nepenthes mirabilis

สำหรับ Nepenthes mirabilis คือหม้อข้าวหม้อแกงลิงสายพันธุ์หนึ่งในกลุ่ม โลวแลนด์ ซึ่งมีชื่อภาษาไทยหลายชื่อตัวอย่างเช่น แขนงนายพราน กระบอกน้ำพราน ปูโยะ ลึงค์นายพราน หม้อแกงค่าง หม้อข้าวลิง หม้อข้าวหม้อแกงลิง หรือเหน่งนายพราน เป็นพืชกินสัตว์ชนิดหนึ่งที่พบได้ตามหนองน้ำในบริเวณที่มีอากาศร้อนชื้น ซึ่งพบได้ตามธรรมชาติแทบทุกภูมิภาคของประเทศไทย และประเทศอื่น ๆ ในทวีปเอเซีย

nepenthes mirabilis การกระจายพันธุ์
การกระจายพันธุ์ของ nepenthes mirabilis แหล่งอ้างอิง : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0

ด้วยการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางเช่นนี้ ส่งผลให้ N. mirabilis มีรูปร่างลักษณะแตกต่างกันไปหลายรูปแบบ โดยพันธุ์ที่หาได้ยากที่สุดคือ N. mirabilis var. echinostoma ชึ่งพบได้เฉพาะในบรูไนและรัฐซาราวัก มีจุดเด่นที่ดอกซึ่งเมื่อบานเต็มที่จะกว้างและหนาเป็นพิเศษ สามารถมองเห็นร่องกลีบที่ละเอียดได้อย่างชัดเจน

ลักษณะและข้อมูลทั่วไปของ nepenthes mirabilis

อาณาจักร:Plantae
หมวด:Magnoliophyta
ชั้น:Magnoliopsida
อันดับ:Caryophyllales
วงศ์:Nepenthaceae
สกุล:Nepenthes
สปีชีส์:N. mirabilis
แหล่งอ้างอิง : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0

เนื่องจากพบได้ตามธรรมชาติในประเทศไทย ดังนั้นจึงค่อนข้างจะเพาะปลูกได้ง่าย บางแห่งมีการผสมพันธุ์เพื่อให้ได้สายพันธุ์ใหม่ และมีการจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ด้วย แต่การเพาะเลี้ยงให้ได้ผลดีจำเป็นต้องรู้วิธีการเพาะเลี้ยงและอาศัยการดูแลเอาใจใส่ที่เหมาะสม

แขนงนายพราน nepenthes mirabilis
N. mirabilis

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจถึงลักษณะที่เป็นจุดเด่นของ แขนงนายพราน ซึ่งมีลักษณะเป็นไม้เลื้อยที่สามารถเกาะกันเป็นพุ่มเล็กแน่นที่มีความยาวได้ถึง 10 เมตร ส่วนใบจะเป็นใบเดี่ยวที่ยาวรี มักเรียงตัวเป็นเกลียว บางเหมือนกระดาษ ช่วงที่เป็นใบอ่อนขอบใบจะมีลักษณะเป็นฟันเลื่อย ความยาวของใบไม่เกิน 30 ซม. และกว้างไม่เกิน 7 ซม.

ลักษณะของหม้อดักแมลง : บริเวณด้านล่างมีลักษณะค่อนข้างยาว ก้นหม้อจะมีลักษณะเป็นกระเปาะ ส่วนด้านบนจะเป็นรูปทรงกระบอก มีความสูงไม่เกิน 20 ซม. และกว้างไม่เกิน 4 ซม. ส่วนต่อมผลิตน้ำย่อยจะอยู่บริเวณก้นหม้อที่เป็นกระเปาะ ปากหม้อมีลักษณะกลมอาจขนานไปกับพื้นหรือเฉียงเล็กน้อย ฝาหม้อเป็นรูปกลมรี ไม่มีเดือยอยู่ใต้ฝา โดยสีของหม้อจะมีทั้งสีเขียวไล่ไปจนเป็นสีแดง และอาจมีจุดที่เด่นชัดด้วย

ส่วนของดอก : จะมีการแยกเพศผู้และเพศเมียชัดเจน โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมิถุนายน-กุมภาพันธ์ ลักษณะโดยรวมของ N. mirabilis จะใกล้เคียงกับสายพันธุ์ N. rowanae และ N. tenax มากที่สุด แต่ทั้ง 2 ชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศออสเตรเลีย

องค์ประกอบสำหรับการเลี้ยงเเขนงนายพราน

N. mirabilis การเลี้ยง
N. mirabilis
  1. อุณหภูมิ พืชชนิดนี้ชอบอุณหภูมิที่ค่อนข้างอุ่น ช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 60 – 90 องศาฟาเรนไฮต์ สามารถปลูกในสวน และพื้นที่ในร่มได้ โดยจะเพาะปลูกในกระถางหรือตะกร้าแขวนก็ได้
  2. น้ำ เป็นพืชที่ทนทานต่อน้ำกระด้างได้ดี แต่ไม่ควรใช้น้ำขัง เพราะน้ำนี้มักทำให้พืชอ่อนแอลง และอาจทำให้รากเน่าได้ และควรให้น้ำเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ โดยต้องแน่ใจว่าวัสดุปลูกจะมีความอิ่มน้ำอยู่เสมอ หากปลูกในโณงเรือนอาจใช้ระบบหมอกเพื่อควบคุมสภาพแวดล้อมได้
  3. แสงแดด เขนงนายพรานควรได้รับแสงแดดส่องวันละประมาณ 3 – 4 ชั่วโมง เพราะจะทำให้พืชมีสีที่สวยที่สุด หากขาดแดดพืชมักอ่อนแอลง และสีสันไม่สวยงาม เพราะแม้จะรับอาหารจากแมลงได้ แต่พลังงานที่ได้จากการสังเคราะห์แสงจะช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดี
  4. ดิน Nepenthes mirabilis เจริญเติบโตได้ดี เมื่อดินมีอากาศถ่ายเทดี จึงควรปลูกในดินหรือวัสดุปลูกที่มีรูพรุน สามารถระบายน้ำได้ดี โดยเฉพาะส่วนผสมของเพอร์ไลต์ ถ่านชาร์โคล และเปลือกกล้วยไม้ และพีทมอสผสมกัน โดยไม่จำเป็นต้องเติมสารอาหารหรือปุ๋ยเพราะอาจทำลายพืชชนิดนี้ได้
Nepenthes mirabilis var.globosa
Nepenthes mirabilis var.globosa อีกสายพันธุ์ย่อยของแขนงนายพรานหรือที่นิยมเรียกว่า “ไวกิ้ง”

ข้อควรรู้ในการปลูก N. mirabilis

  1. ระยะเวลาในการปลูก เมื่อปลูกอาจต้องใช้เวลานาน 2 – 3 ปี พืชจึงจะเริ่มผลิบาน และควรทำการปลูกถ่ายกระถาง หรือเปลี่ยนวัสดุปลูกทุก ๆ 3-4 ปี โดยตัดแต่งรากเก่าออก และใช้ดินสด หากพืชโตหรือขึ้นจนแน่นภาชนะแล้ว ควรย้ายไปยังภาชนะที่ใหญ่ขึ้น
  2. การตัดแต่งกิ่ง ควรตัดแต่เมื่อเหี่ยวเฉา หรือเมื่อใบแก่และถุงดักแมลงเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล โดยต้องใช้กรรไกรที่สะอาดและตัดเฉพาะบริเวณที่เป็นสีน้ำตาลเท่านั้น หากต้นยังอ่อนหรือไม่แข็งแรงไม่แนะนำให้ทำการตัดแต่ง
  3. การขยายพันธุ์ วิธีที่ได้รับความนิยมมากคือการปักชำ โดยตัดก้านใบที่มีใบ 2 หรือ 3 ใบ ด้วยกรรไกรที่สะอาดและตัดในแนวทแยง แล้วผ่าครึ่งใบแต่ละใบ จุ่มสารเร่งรากแล้วเพาะในมอสสมัมที่ชุ่มชื้น ใช้เวลาในการปักชำนานประมาณ 2 เดือน
  4. ข้อควรระวัง ในฤดูร้อนและฤดูแล้งควรตรวจสอบดินใต้พื้นผิวลึกลงไปประมาณ 0.5 นิ้วอย่างสม่ำเสมอว่าดินยังชื้นอยู่หรือไม่ หากดินแห้ง พืชอาจตายได้ หากสภาพอากาศหนาวเย็นคลุมหาหญ้าหนา ๆ มาคลุมที่บริเวณฐานของต้นไม้เพื่อป้องกันราก และรักษาความชุ่มชื้นเอาไว้

N. mirabilis นับเป็นพืชที่สวยงาม และเพาะเลี้ยงได้ง่าย แต่ก็ต้องปลูกด้วยวิธีการที่เหมาะสม เพื่อให้ต้นไม้ออกถุงดักแมลงออกมามาก และเพื่อสีสันที่สวยงาม

N. mirabilis var. echinostoma
N. mirabilis var. echinostoma สายพันธุ์ย่อยของ N. mirabilis ที่หาได้ยากที่สุด
N. mirabilis × N. rafflesiana ลูกผสม
ลูกผสมระหว่าง N. mirabilis × N. rafflesiana

อ่านบทความพืชกินแมลงอื่นๆ

RECENT POSTS