ต้นหยาดน้ำค้าง พืชกินแมลงหนวดแวววาวคล้ายน้ำค้างยามรุ่งอรุณ

ต้นหยาดน้ำค้าง Drosera
สารบัญบทความ
ต้นหยาดน้ำค้าง Drosera
Drosera tokaiensis

ในประเทศไทยการปลูกพืชกินแมลงนั้นไม่ใช่เรื่องที่น่าอัศจรรย์อะไรมากนัก เพราะประเทศไทยมีสภาพอากาศที่เกื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของพืชเหล่านี้อยู่แล้ว ดังนั้น เราจึงมักจะเห็นผู้คนบางกลุ่มนิยมเพาะปลูกพืชกินแมลงกันจนกลายเป็นเรื่องปกติ ซึ่ง ต้นหยาดน้ำค้างก็เป็นอีกหนึ่งพืชกินแมลงที่เราสามารถพบเห็นได้เพียง 3 ชนิดเท่านั้นในประเทศไทย 

และยังเป็นพืชหายากที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในกลุ่มคนรักต้นไม้แปลก ๆ แต่คุณสงสัยไหมว่าทำไมถึงต้องเรียกว่าต้นหยาดน้ำค้าง วันนี้เรา preserved-flower.biz จะพาทุกคนมาไขข้อสงสัยนี้ไปพร้อม ๆ กับการทำความรู้จักต้นหยาดน้ำค้างให้มากขึ้น รวมถึงแชร์วิธีการปลูกต้นหยาดน้ำค้างที่คุณอาจจะยังไม่รู้ ซึ่งจะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ติดตามได้ในบทความนี้

 

ต้นหยาดน้ำค้าง Drosera capensis
Drosera capensis

ต้นหยาดน้ำค้าง คืออะไร?

ต้นหยาดน้ำค้าง คือ พืชกินแมลงที่ถูกจัดให้อยู่ในพืชวงศ์หญ้าน้ำค้าง ซึ่งในปัจจุบันพืชสกุลนี้จะมีประมาณ 194 ชนิดทั่วโลก โดยมีลักษณะทางกายภาพของใบและกับดับคล้ายคลึงกับน้ำค้างที่เกาะอยู่บนใบหญ้าในยามเช้า 

ซึ่งปกติแล้ว ต้นหยาดน้ำค้างกินแมลงด้วยการใช้เมือกบนปลายหนวดของมัน เพื่อล่อ จับ และย่อยแมลง โดยเหยื่อที่จับได้จะถูกย่อยให้เป็นสารอาหารเสริม เพื่อทดแทนสารอาหารที่ขาดหายไป

โดยเฉพาะสารประกอบไนโตรเจนที่อยู่ในดิน เนื่องจากพืชกินแมลงมีความต้องการดูดซึมสารอาหารในดินมากกว่าพืชอื่น ๆ นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้พืชชนิดนี้ได้มีวิวัฒนาการมาบริโภคแมลงหรือสัตว์ขนาดเล็กเป็นอาหาร เพื่อใช้ทดแทนสารอาหารในดินที่ไม่เพียงพอ 

ต้นหยาดน้ำค้าง คือ
แมลงติดกับดักของต้นหยาดน้ำค้าง ที่ปลายขนมีเมือกเหนียว

ต้นหยาดน้ำค้าง มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า DROSERA ซึ่งมาจากคำในภาษากรีกที่แปลว่า “หยดน้ำ หรือ น้ำค้าง” และมีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า “SUNDEW” ซึ่งเป็นภาษาละตินที่แปลว่า “น้ำตาพระอาทิตย์” โดยที่มาของชื่อมาจากเมือกบนปลายหนวดของใบที่มีลักษณะแวววาวคล้ายน้ำค้างในยามเช้า 

ซึ่งในปัจจุบันเราสามารถพบพืชหยาดน้ำค้างได้แทบทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา เพราะมีสภาพอากาศที่หนาวที่สุดจึงไม่เหมาะกับการเจริญเติบโตของพืชกินแมลง

หยาดน้ำค้าง หญ้าน้ำค้าง DROSERA INDICA L.
หญ้าน้ำค้าง หรือ DROSERA INDICA L.

แต่สำหรับในประเทศไทยเรามักจะพบเห็นต้นหยาดน้ำค้างอยู่เพียง 3 ชนิดเท่านั้น ได้แก่ จอกบ่วาย (DROSERA BURMANNII VAHL), หญ้าน้ำค้าง (DROSERA INDICA L.) และ หญ้าไฟตะกาด (DROSERA PELTATA SM.) โดยคุณสามารถปลูกพืชเหล่านี้ได้ง่าย ๆ ที่บ้าน เพียงทำตามวิธีด้านล่างนี้ 

หยาดน้ำค้างจอกบ่วาย DROSERA BURMANNII VAHL
จอกบ่วาย (DROSERA BURMANNII VAHL)
หยาดน้ำค้าง หญ้าไฟตะกาด DROSERA PELTATA SM.
หญ้าไฟตะกาด (DROSERA PELTATA SM.)

ลักษณะทางกายภาพของ ต้นหยาดน้ำค้าง

ต้นหยาดน้ำค้างเป็นยังไง? โดยทั่วไป ต้นหยาดน้ำค้างจะมีหลากหลายรูปแบบและมีขนาดแตกต่างกันไปแล้วแต่ละชนิด โดยพวกมันเป็นพืชกินแมลงที่สามารถเจริญเติบโตอยู่ได้หลายปี บางชนิดมีช่วงชีวิตได้ถึง 50 ปี (มีเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่อยู่ได้เพียงปีเดียว)

ซึ่งพืชเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นใบกระจุกทอดนอนไปกับพื้นหรือแตกกิ่งก้านตั้งตรงกับพื้นดิน ด้วยขนาดความสูงประมาณ 1 เซนติเมตร ถึง 1 เมตร ขึ้นอยู่กับแต่ละชนิด และบางชนิดก็มีรูปแบบลำต้นเลื้อยไต่สามารถยาวได้ถึง 3 เมตร 

Drosera tokaiensis ที่ขึ้นตามธรรมชาติ
Drosera tokaiensis ที่ขึ้นตามธรรมชาติ

พืชสกุลนี้จะมีความสามารถในการดูดซึมสารอาหารจากเหยื่อที่จับได้เหมือนกับพืชกินแมลงทั่วไป โดยพวกมันจะใช้ปลายของหนวดที่มีสารคัดหลั่งเหนียว ๆ หรือที่หลายคนเรียกว่า เมือก มีกลิ่นที่หอมหวาน เพื่อใช้ในการดึงดูดและดักจับแมลง เมื่อจับเหงื่อได้แล้วก็จะหลั่งเอนไซม์ออกมาเพื่อย่อยแมลงตัวที่จับได้ จากนั้นต่อมไร้ก้านก็จะดูดซึมสารอาหารที่ได้จากกระบวนการย่อยผ่านทางผิวใบ เพื่อนำไปใช้ในการเจริญเติบโตของต้นไม้ต่อไป

วิธีการปลูกต้นหยาดน้ำค้างยังไงให้รอด

สำหรับวิธีปลูกต้นหยาดน้ำค้าง นั้นไม่ใช่เรื่องยากเลย โดยต้นหยาดน้ำค้างสามารถปลูกในที่ดินทราย หรือ ดินร่วนปนทรายได้ และควรตั้งไว้ในบริเวณที่โล่งมีแสงแดดประมาณ 50-70 % เพราะพืชชนิดนี้จะชอบความชื้นมากเป็นพิเศษ แต่ถ้าเปียกจนเกินไปก็อาจจะต้นไม้เน่าได้ 

ดังนั้น อย่ารดน้ำมากเกินไป แต่ให้ปลูกไว้ในบรรยากาศที่มีความชื้นสูง บางคนเลี้ยงในตู้ปลาก็เน่าตายหมดเลย เพราะแฉะเกินไป ดังนั้น ทางที่ดีควรปลูกใส่กระถางที่มีจานรองดินระบายน้ำได้ดี เพียงเท่านี้ต้นหยาดน้ำค้างก็จะเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่แล้ว 

Drosera capensis
Drosera capensis

บทความอื่นๆที่คุณอาจสนใจ

RECENT POSTS