N.rafflesiana หม้อข้าวหม้อแกงลิงป่า กระเปาะใหญ่ สีสันตระการตา

Nepenthes rafflesiana
สารบัญบทความ
Nepenthes rafflesiana

หม้อข้าวหม้อแกงลิง เป็นพืชกินแมลงชนิดหนึ่ง ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในแต่ละสายพันธุ์ ถือเป็นพืชที่กระมีการกระจายตัวเป็นวงกว้าง สามารถพบเจอได้ทั่วไปบริเวณ เกาะบอร์เนียว เกาะสุมาตรา มาเลเซียตะวันตก และ ภายในประเทศสิงคโปร์ เป็นต้น โดยเฉพาะสายพันธุ์ nepenthes rafflesiana ที่มีความโดดเด่น และเป็นเอกลักษณ์อย่างมาก ด้วยรูปแบบที่มีรายละเอียดมากมาย รูปแบบขนาดเล็กไปใหญ่จนถึงใหญ่มาก ตามแต่ละพื้นที่

nepenthes rafflesiana การกระจายพันธุ์
การกระจายพันธุ์ของ nepenthes rafflesiana ,แหล่งอ้างอิง : https://www.picturethisai.com/th/wiki/Nepenthes_rafflesiana.html

ข้อมูลและลักษณะทั่วไปของ nepenthes rafflesiana

อาณาจักร:พืช (Plantae)
หมวด:Magnoliophyta
ชั้น:Magnoliopsida
อันดับ:Caryophyllales
วงศ์:Nepenthaceae
สกุล:Nepenthes
สปีชีส์:N.  rafflesiana
อ้างอิงจาก วิกิพีเดีย

N. rafflesiana จัดเป็นหม้อในหมวด โลวแลนด์ พบที่ความสูงตั้งแต่ 0-1200 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล โดยรูปแบบเป็นไม้เลื้อยชนิดหนึ่ง มีความสูงได้ถึง 15 เมตร และลำต้นมีความหนาอยู่ที่ 10 มม.

N.rafflesiana มีการกระจายตัวอยู่ภายใน บอร์เนียว และสามารถพบเจอได้บางส่วนภายใน หมู่เกาะรีอู แต่จะมีการกระจายพันธุ์อย่างจำกัดภายในพื้นที่ เพนนิซูล่า และมาเลเซีย

ส่วนประกอบพื้นฐานของหม้อข้าวหม้อแกงลิง
ส่วนประกอบพื้นฐานของหม้อ แหล่งที่มา : วิกิพีเดีย

หม้อข้าวหม้อแกงลิงสายพันธุ์ N. rafflesiana จะมีจุดเด่นที่เรียกว่า หม้อ ออกมาเป็นป่อง และมีปีกชายฝอยขนาดใหญ่ สามารถสังเกตได้ง่าย ขนาดของหม้อจะมีความสูงอยู่ประมาณไม่เกิน 20 ซม. มีความยาวได้มากถึง 35 ซม. และมีความกว้างได้มากถึง 15 ซม. ซึ่งถือว่าเป็นลักษณะที่มีขนาดใหญ่เป็นอย่างมาก โดยหม้อบนลักษณะเป็นรูปกรวย และยกขึ้นเป็นพิเศษที่ด้านหน้าของบริเวณปากหม้อหรือที่เรียกว่า”เพอริสโตม

หม้อล่างและหม้อบนนั้น จะมีลักษณะพิเศษของเพอริสโตมที่เหมือนกันก็คือ จะมีคอคอดที่ยาว ซึ่งสามารถยาวได้มากถึง 3 ซม. หรือมากกว่านั้น

สีของ N. rafflesiana โดยทั่วไปแล้วจะมีสีเขียวอ่อน มีจุดสีม่วงเข้ม หม้อบน และหม้อล่างจะมีสีครีมอยู่ภายในหม้อ ซึ่งจะมีดอกออกมาแบบเป็นช่อขนาดใหญ่ โดยจะมีความสูงอยู่ที่ประมาณ 16 – 70 ซม. โดยจะออกมาเป็นลักษณะของดอกเดี่ยว โดยมีจะมีแดง หรือม่วง บางครังอาจพบได้ถึง 2 ดอก บนก้านเดียวกัน

nepenthes rafflesiana ดอก
ดอกเพศผู้ของ nepenthes rafflesiana ,แหล่งที่มา : https://www.cpukforum.com/

ดอกของ N. rafflesiana จะออกช่อได้เป็น 2 แบบ นั่นก็คือ ช่อกระจะ หรือ ช่อแยกแขนง แล้วแต่ไม่ได้เจาะจง แต่ดองของมันสามารถแยกเพศได้อย่างชัดเจน ซึ่งแบบหนึ่งก็คือ 1 ต้น 1 เพศ ฝักจะออกมาในลักษณะแบบแคปซูล 4 กรีบ และจะแตกออกเมื่อดอกแก่ โดยภายในดอกที่แตกออกมาจะประกอบไปด้วย เมล็ด 10 – 60 เมล็ด หรือมากกว่านั้นได้ โดยจะอาศัยลมพัดพาการกระจายของเมล็ด

หม้อล่างและหม้อบนของ Nepenthes rafflesiana
หม้อล่าง(ซ้าย)และหม้อบน(ขวา)ของ Nepenthes rafflesiana

Nepenthes rafflesiana หม้อบนและหม้อล่าง

  • หม้อล่าง : เป็นหม้อที่เกิดในช่วงอายุต้นไม้ยังไม่มาก หม้อชนิดนี้จะเกิดขึ้นมาตรงบริเวณแถว ๆ โคนต้น จะมีขนาดใหญ่ มีสีสันที่สวยงามน่าดึงดูด หน้าที่ของหม้อล่างก็คือ จะทำหน้าที่ในการล่อเหยื่อ และดูดซึมสารอาหารเพื่อการเจริญเติบโตของต้น ส่วนสายดิ่งจะอยู่ที่ด้านหน้าของหม้อ
  • หม้อบน : เป็นหม้อที่เกิดในช่วงอายุต้นไม้มากขึ้นและลำต้นสูงได้ระดับนึง หม้อชนิดนี้จะมีขนาดเล็ก ก้านของหม้อจะมีลักษณะหลีบ แหลม รูปทรงลักษณะของหม้อจะเปลี่ยนไปตามแต่ลักษณะ โดยหม้อบนจะมีสีที่จืดกว่าหม้อล่างอย่างเห็นได้ชัด หน้าที่ของหม้อบนก็คือ ถ้าหากต้นโตขึ้น หม้อบนจะลดบทบาทในการหาเหยื่อลง แต่จะไปเพิ่มบทบาทในการยึดเกาะเพื่อพยุงลำต้น โดยจะใช้สายหม้อที่ม้วนวนคล้ายเถาวัลย์ ไปเกาะเกี่ยวกับต้นไม้หรือวัตถุข้าง ๆ แทน ส่วนสายดิ่งจะเปลี่ยนจากด้านหน้ามาเป็นที่ด้านหลังของหม้อ

หม้อจะบรรจุไปด้วยของเหลวชนิดหนึ่งที่พืชสร้างขึ้นเอง ของเหลวชนิดนี้มีลักษณะเป็นน้ำกรดอ่อนๆ เพื่อให้เหยื่อจมน้ำจนเสียชีวิตและย่อยสลายเป็นธาตุอาหารแก่พืช

จากการศึกษาเบื้องต้นของ N. rafflesiana ได้แสดงให้เห็นว่า ส่วนใหญ่แล้วจะพบเจอกับของเหลวที่มีการบรรจุไปด้วยสารเหนียวที่ถูกผสมขึ้นมาโดยเฉพาะ เพื่อใช้สำหรับการย่อยแมลง

ความสามารถของของเหลวชนิดดังกล่าวที่ใช้ดักในแต่ละครั้ง จะลดลงเรื่อย ๆ หรือเมื่อสารดังกล่าวถูกเจือจางโดยน้ำ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ด้วยสภาพของภูมิอากาศ สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่เป็นที่อยู่อาศัยของ N. rafflesiana จะต้องพบเจอ ถึงกระนั้นหม้อจึงสร้างฝาหม้อที่มีขนาดใหญ่เพื่อช่วยป้องกันน้ำฝนเข้ามานั่นเอง

เหยื่อส่วนใหญ่ของ หม้อข้าวหม้อแกงลิง N. rafflesiana โดยปกติแล้วจะเป็นแมลง แต่ถ้าหากเมื่ออยู่ในช่วงที่ต้นโตเต็มวัย ก็อาจจะพบเหยื่อที่เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก เช่น หนู และสัตว์เลื้อยคลายต่าง ๆ ได้เช่นกัน 

Nepenthes rafflesiana การปลูก

วิธีการเลี้ยง หม้อข้าวหม้อแกงลิงสายพันธุ์ N. rafflesiana

N. rafflesiana เป็นพืชที่มีความง่ายต่อการเจริญเติบโตต่อสภาพอากาศที่ร้อนชื้นแบบบ้านเรา แต่การที่จะปลูก หม้อข้าวหม้อแกงลิงสายพันธุ์ rafflesiana ให้เขียวชอุ่มได้ จำเป็นที่จะต้องให้ความต่างกันของอุณหภูมิที่ไม่เกิน 10° C ในช่วงระหว่างกลางวัน และกลางคืน โดยความชื้นในบรรยากาศจะต้องสูง ซึ่งจะมีค่าความชื้นสัมพัทธ์ ระหว่าง 50 ถึง 80% 

N. rafflesiana จำเป็นจะต้องเพาะปลูกในดินที่มีธาตุอาหารต่ำ และความโปร่งของอากาศในดินมาก เช่น พีท + เวอร์มิคูไลต์ หรือ ทรายซิลิกา + ดินเล็กน้อย ที่เหมาะสำหรับการปลูกกล้วยไม้ที่ทำมาจากเปลือกสน จะต้องฉีดพ่นด้วยน้ำฝน หรือน้ำที่ปราศจากแร่ธาตุ โดยวัสดุปลูกไม่ควรแห้ง

ทั้งนี้การให้ดินที่มีธาตุอาหารไม่มากก็เพื่อเลียนแบบสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติของพืชส่งผลให้พืชผลิตกับดักที่สวยงามไว้ล่อแมลง และในทางตรงกันข้ามหากเราใช้ดินมีสารอาหารมากในการปลูก จะส่งผลให้พืชปรับตัวโดยสร้างกับดักที่มีขนาดเล็กลงจนไปถึงเลิกสร้างกับดัก

ควรหมั่นลดน้ำส่วนเกินที่ขังในหม้ออยู่เสมอเพื่อไม่ให้น้ำหนักหม้อมากจนใบเเละลำต้นหักได้ การใส่ปุ๋ยควรใส่ประเภท ปุ๋ยเม็ดละลายช้า 3-4 เดือนครั้ง สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยในเรื่องการฟื้นฟูสภาพดิน และสภาพแวดล้อมให้สามารถคงความเขียวชอุ่มได้

ชนิดและสายพันธุ์ของ N. rafflesiana

N. rafflesiana มีสกุลย่อยกว่า 70 ชนิด

Nepenthes rafflesiana
Nepenthes rafflesiana

โดยมีลูกผสมตามธรรมชาติที่ได้รับการบันทึกไว้ของ N. rafflesiana ดังนี้

  • N. albomarginata × N. rafflesiana
  • N. ampullaria × N. rafflesiana =N. × hookeriana
  • ? (N. ampullaria × N. rafflesiana) × N. mirabilis =N. × hookeriana × N. mirabilis
  • N. bicalcarata × N. rafflesiana
  • ? (N. bicalcarata × N. rafflesiana) × N. mirabilis var. echinostoma
  • N. gracilis × N. rafflesiana
  • N. mirabilis × N. rafflesiana (including N. mirabilis var. echinostoma × N. rafflesiana)
  • Nepenthes × hookeriana
  • N. mirabilis × N. rafflesiana
Nepenthes × hookeriana
Nepenthes × hookeriana ลูกผสมทางธรรมชาติที่เกิดจาก N. rafflesiana และ N. ampullaria

N. rafflesiana เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่มีการผลิตหม้อที่ใหญ่ที่สุด โดยหม้อจะเป็นรูปแบบของหม้อขนาดยักษ์หรือที่เรียกว่า gigantea เป็นเรื่องปกติที่สามารถจะพบเห็นกับดักที่มีขนาดใหญ่จากสายพันธุ์นี้ ซึ่งกับดักจะมีขนาดสูงได้มากถึง 45 ซม.!

ถึงแม้ว่า N. rafflesiana จะมีการกระจายพันธุ์ที่จำกัด แต่ก็เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่มีลักษณะทางสัณฐานวิทยา(morphologically) ที่มีรูปแบบ และพันธุ์ที่หลากหลายชนิดมาก และถือเป็นสายพันธุ์ที่เริ่มจะพบได้ยากตามธรรมชาติในปัจจุบัน

RECENT POSTS