10 สายพันธุ์แคคตัสไร้หนาม และทริคต้องรู้ในการเลี้ยงให้อวบน้ำสวยงาม

แคคตัส
สารบัญบทความ
แคคตัส

“แคคตัส” นับเป็นต้นไม้ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในกลุ่มคนรักต้นไม้และคนที่ชอบตกแต่งอาคารสถานที่ให้มีความเขียวชอุ่ม ดูสวยงามแบบสไตล์มินิมอล เพราะต้นแคคตัสหรือต้นกระบองเพชรเป็นต้นไม้ที่มีลักษณะลำต้นที่สวยเด่นเป็นเอกลักษณ์ ออกดอกสีสันสวยงาม ทั้งยังเลี้ยงง่ายและทนทานต่อทุกสภาพอากาศ สำหรับใครที่ตกหลุมรักแคคตัสและกำลังมองหาข้อมูลควรรู้ก่อนตัดสินใจปลูกแคคตัส ฉบับมือใหม่ แคคตัสมีกี่สายพันธุ์ ปลูกแคคตัสใช้อะไรบ้าง? วิธีเลี้ยงแคคตัสให้โตไว ติดดอกสวยต้องทำอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของแคคตัส

ลำต้นและหนาม

แคคตัส (Cactus) หรือ กระบองเพชร เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงกลาง มีความสูงประมาณ 0.3-3.6 เมตร (บางสายพันธุ์อาจมีความสูงได้มากถึง 10 เมตร) มีทั้งแบบที่เป็นต้นทรงกลมและทรงกระบอกเรียวสูง ลำต้นเป็นสีเขียวและสีเขียวเข้ม รอบ ๆ ลำต้นมีหนามแบบแข็งหรือขนอ่อนกระจายปกคลุมอยู่จนทั่ว แต่ทั้งนี้ก็มีแคคตัสบางสายพันธุ์ที่ไม่มีหนามหรือขนปกคลุมบริเวณลำต้น เช่น Mammillaria plumosa, Echinocereus rigidissimus, Astrophytum asterias 

ดอก

ดอกของต้นแคคตัสมีดอกสีแดง สีเหลือง และสีขาว ซึ่งลักษณะของดอกและช่วงเวลาที่เริ่มออกดอกจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละสายพันธุ์

แคคตัส ดอก

ถิ่นกำเนิดของแคคตัส

แคคตัสมีถิ่นกำเนิดในทะเลทรายแถบทวีปอเมริกาใต้ที่เป็นเขตร้อน จากนั้นจึงแพร่กระจายไปยังทวีปแอฟริกาและหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ต้นกระบองเพชรหรือต้นแคคตัสสายพันธุ์ดั้งเดิมเป็นพืชที่ทนแล้งและทนร้อนได้ดี โดยต้นแคคตัสจะสามารถกักเก็บน้ำไว้ในลำต้นได้มากถึง 80-90% และจะเปิดปากใบเฉพาะช่วงกลางคืนเพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ

แคคตัสมีกี่สายพันธุ์ เลือกปลูกสายพันธุ์ไหนดี?

ต้นแคคตัสนั้นมีสายพันธุ์มากกว่าที่เราคิด โดยอาจมีสายพันธุ์มากกว่า 2,000 สายพันธุ์และสามารถจำแนกออกได้เป็น 130 สกุล ซึ่งต้นแคคตัสแต่ละสายพันธุ์จะมีลักษณะรูปทรงของต้น หนามหรือขน ใบ และดอกที่แตกต่างกันออกไป โดยสามารถจำแนกได้เป็นหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มที่มีใบแท้และมีขนปกคลุม (Pereskia), กลุ่มไม่มีใบ (Cereus) ลำต้นเป็นทรงกระบอก มีทั้งแบบมีหนามและไม่มีหนาม, กลุ่มที่มีลำต้นเป็นหัวทรงกลม อวบอ้วนและมีหนามแหลมและแข็ง (Echinocactus) เป็นต้น 

10 สายพันธุ์แคคตัสไร้หนาม

Custus นั้นหากพูดถึงคนมักคิดว่ากระบองเพรชซึ่งปกติมักมีหนามแหลม แต่ ใครจะรู้ว่าไม้ชนิดนี้นั้นมีหลากหลายแบบหลายชนิด และหลายพันธุ์ในนั้นเป็นแบบไม่มีหนาม ซึ่งเราได้รวบรวมและหาข้อมูลของ 10 สายพันธุ์ แคคตัสไม่มีหนาม มาให้รับชมกัน

1. Hatiora gaertneri

Hatiora gaertneri
Hatiora gaertneri

ดูเผินๆจะคล้ายกับต้นแก้งมังกร มีดอก ง่ายต่อการบำรุงรักษา มีถิ่นกำเนิดจากบราซิล เป็นพืชชนิดที่เติบโตและอาศัยอยู่บนไม้ชนิดอื่นได้ ดอกสีออกแดง,ส้ม หรือ ชมพู สวยงาม ขนาด 4-5 ซ.ม. เป็นสายพันธุ์ที่ปลูกในบ้านได้ ไม่ชอบแดดจัดเพราะจะทำให้ไหม้ได้ หากไว้นอกบ้านอาจต้องอยู่ใต้ร่มไม้ หรือมีชายคาให้หลบแดดได้

2. แมม เฮอเรเร่

แมม เฮอเรเร่
แมม เฮอเรเร่

แมม เฮอเรเร่ ชื่อวิทยาศาสตร์ Mammillaria herrerae เป็น Custus ไร้หนามมีลักษณะกลม มีสีขาวปลกคลุม โดยที่พบตามธรรมชาติมักพบอยู่ในพุ่มไม้ทะเลทราย หรือ ขึ้นแทรกตามต้นไม้ในทะเลทราย เติบโตช้า การลดน้ำ รดน้ำเมื่อดินแห้ง อย่างน้อย สัปดาห์ละครั้ง วางในบริเวณมีแดด 5-8 ช.ม. ต่อวัน

3. แมมอิรุซามุ

แมมอิรุซามุ
แมมอิรุซามุ

แมมอิรุซามุ,แมมปุยหิมะ ชื่อวิทยาศาสตร์ Mammillaria bucareliensis Erusamu อีกสายพันธุ์ที่นักสะสมไม่ควรพลาด มักออกดอกได้ดีช่วงหน้าหนาว มีหนามปุยสีขาวเหมือนหิมะ ควรรับแดด 6-8 ชั้วโมงต่อวัน การเลี้ยงควรใช้ตาข่ายกรองแสง ระวังการออกแดดแรงเพราะเสี่ยงต่อการไหม้ รดน้ำอาทิตย์ละครั้ง

4. แมมโอรุกะ

แมมโอรุกะ
แมมโอรุกะ

แมมโอรุกะ ชื่อวิทยาศาสตร์ Mammillaria Gracilis Oruga ต้นตะมุตะมิจากแดนอาทิตย์อุทัย เป็นกระบองเพรชหนานุ่ม จับเล่นได้ไม่ต้องกลัวหนามตำ ลักษณะเด่นคือมีปุยก้อนสีขาว เหมือนหิมะ เป็นไม้เติบโตช้า ควรรับแดด 6-8 ช.ม. ต่อวัน ลดน้ำเมื่อดินแห้งหรือ 7 วันครั้งก็พอ

5. หมวกสังฆราช

หมวกสังฆราช
หมวกสังฆราช

หมวกสังฆราช ชื่อวิทยาศาสตร์ Astrophytum myriostigma Lem หมวกหนามเล็ก มีรูปร่างสวยงาม ลักษณะคล้ายหมวกของพระ การดูแลควรลดน้ำ 7 วันครั้ง รดเมื่อดินแห้งเท่านั้น เพาะได้โดย ผสมเกสรและเพาะเมล็ด ต้องการแดดปริมาณพอเหมาะ ควรวางในที่รับแสงดี แต่ใช้ตาข่ายกรองแสงเอาไว้สักหน่อยในช่วงแดดแรง

6. ฮาโวเทียหยดน้ำ

ฮาโวเทียหยดน้ำ
ฮาโวเทียหยดน้ำ

ฮาโวเทียหยดน้ำ ชื่อวิทยาศาสตร์ Haworthia cooperi ใครชอบความท้าทายต้องลอง ไม้ปราบเซียนชนิดนี้ เป็นที่นิยมในบรรดาผู้ชื่นชอบไม้อวบน้ำ จัดเป็นแคคตัสปลูกยาก หากเลี้ยงไม่ให้ตายและสวยงามนั้นถ้าทำได้สามารถสร้างรายได้งดงามได้แน่นอน เป็นต้นไม้ที่ไม่ชอบแดดจัด ในธรรมชาติจะอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่มีร่มเงา ต้องการแดดทั้งวันแต่เป็นแดดประมาณ 50-60% หากโดนแสงแดดโดยตรงใบอาจไหม้ดังนั้นจำเป็นต้องใช้ตาข่ายบังแสงสักหน่อย

7. แอสโตร / แซนด์ดอลล่าร์

แอสโตร แซนด์ดอลล่าร์
แอสโตร แซนด์ดอลล่าร์

แอสโตร แซนด์ดอลล่าร์ ชื่อวิทยาศาสตร์ Astrophytum Asterias หนึ่งในกระบองเพรชที่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับหรือจัดสวน มีลักษณะกลม ยามออกดอกดูสวยงาม เป็นไม้ที่ไม่ต้องรดน้ำบ่อย รดเมื่อดินแห้งเท่านั้น แสงแดด รับได้เต็มวัน

8. โลโฟโฟรา

โลโฟโฟรา
โลโฟโฟรา

โลโฟโฟรา ชื่อวิทยาศาสตร์ Lophophora ไร้หนามชนิดนี้ การดูแลนั้นง่ายไม่แตกต่างจาก Custus ทั่วไป รดน้ำเมื่อดินแห้ง รดให้ชุ่ม และเทน้ำส่วนเกินออกจากถาดรอง รับแดดได้เต็มวัน ลำต้นเป็นทรงกลมป้อม ส่วนดอกจะออกตรงกลาง

9. ริปซาลิส

แคคตัสไม่มีหนาม
ริปซาลิส

ริปซาลิส ชื่อวิทยาศาสตร์ Rhipsalis baccifera จัดเป็นหนึ่งในสายพันธุ์กระบองเพชรไม่มีหนามที่แปลกตาที่สุดชนิดหนึ่ง มีกิ่งก้านสีเขียวงอกย้อยยาว นิยมนำมาใส่กระถางแบบแขวนเนื่องจากกิ่งที่ย้อยลงมาด้านล่างเมื่อใบเริ่มมีความยาวได้ระดับหนึ่ง เติบโตได้เร็ว ชอบอากาศอบอุ่น แดดแบบรำไร

10. แมมขนแกะ

แมมขนแกะ
แมมขนแกะ

แมมขนแกะ ชื่อวิทยาศาสตร์ Mammillaria bocasana cv. Multilanata แคคตัสสายมู เสริมเมตตามหานิยม ลักษณะต้นเขียวกลม ใบ เบาบาวคล้ายเส้นขนสีขาวนวล ขนหนามปกคลุมหนาแทบไม่เห็นลำต้น ดอกขนาดสีหวานพาสเทล เวลาดอกออกจะมีทั้งกระจายและเรียงเป็นแถว ส่วนผลเป็นฝักขนาดเล็กรูปวงรี ต้องการน้ำน้อยลดเฉพาะดินแห้งและตอนจะนำไป ขยายพันธุ์เท่านั้น ต้องการแดดทั้งวันแบบมีการพางแสงบ้าง

มือใหม่เลือกปลูกแคคตัสสายพันธุ์ไหนดี?

สำหรับผู้ที่ไม่เคยปลูกแคคตัสมาก่อนหรือเป็นผู้ปลูกมือใหม่ ควรเริ่มต้นจากแคคตัสที่มีขนาดไม่เล็กและไม่ใหญ่จนเกินไป ดูแลได้ง่ายไม่ยุ่งยาก และอาจเลือกเป็นสายพันธุ์ที่ออกดอกไว เพื่อช่วยให้เราได้เพลิดเพลินไปกับการเลี้ยงแคคตัสมากยิ่งขึ้น โดยสายพันธุ์ที่เหมาะสำหรับผู้ปลูกแคคตัสมือใหม่ ได้แก่

1. แคคตัสยิมโนคาไลเซียม (Gymnocalycium)

ยิมโนคาไลเซียม
ยิมโนคาไลเซียม

เป็นแคคตัสที่เลี้ยงง่าย ทนแดดทนฝนได้เป็นอย่างดี มีสีสันหลากหลายสวยงาม 

2. แคคตัสคอริแฟนธา อีเลเฟนทิเดนส์ (Coryphantha elephantidens)

คอริแฟนธา อีเลเฟนทิเดนส์
คอริแฟนธา อีเลเฟนทิเดนส์

หรือเรียกสั้น ๆ ว่า แคคตัสช้าง เป็นแคคตัสที่มีลักษณะโดดเด่น มีเนินหนาม (Tubercle) เป็นเต้าอวบใหญ่ ลำต้นอ้วนกลม สีเขียมเข้ม ผิวเรียบมัน ดอกมีขนาดใหญ่ เลี้ยงง่าย ทนแล้งได้ดี

3. แคคตัส โอพันเทีย (Opuntia)

โอพันเทีย
โอพันเทีย

เป็นแคคตัสที่มีลำต้นและใบเป็นทรงแบน โดยเฉพาะสายพันธุ์โอพันเทีย ไมโครดาซิส (Opuntia microdasys) ที่มีรูปทรงคล้ายหูกระต่ายหรือมิกกี้เมาส์ มีขนาดเล็กกำลังดี เลี้ยงง่าย โตไว ขยายพันธุ์ได้ไม่ยาก

4. แอสโตรไฟตัม (Astrophytum)

แอสโตรไฟตัม
แอสโตรไฟตัม

เป็นแคคตัสที่มีลำต้นเป็นหัวทรงกลม ไม่มีหนาม ปลูกและเลี้ยงดูได้ง่าย ความโดดเด่นของแคคตัสแอสโตรไฟตัม คือ มีการพัฒนาสายพันธุ์จนได้ลักษณะลวดลายที่สวยงามทั้งลายประสีขาว ลายประสีขาวรูปตัววี หรือมีลักษณะลำต้นคล้ายกระดองเต่า หรือปลาดาว เป็นต้น

ปัจจัยต่างๆที่คุณต้องรู้ในการปลูกแคคตัส

1. การให้น้ำ

แคคตัสพันธุ์ดั้งเดิมสามารถเก็บน้ำไว้กับตัวได้ดีและต้องการน้ำน้อยมาก แต่แคคตัสที่ถูกพัฒนาสายพันธุ์เพื่อการปลูกเป็นไม้ประดับในปัจจุบันจะต้องได้รับน้ำในปริมาณและความถี่ที่เหมาะสม โดยในช่วงที่อากาศร้อนและแห้งเป็นพิเศษสามารถรดน้ำได้ทุก ๆ 3 วัน หรือหากในช่วงที่อากาศชื้นมากหรือมีฝนตกบ่อย สามารถรดน้ำได้ทุก ๆ 5-7 วัน

วิธีรดน้ำที่เหมาะสมคือ การรดในช่วงเช้า โดยใช้บัวรดน้ำที่มีหัวแบบฝอยรดลงไปบนดินจนเปียกชุ่ม หลีกเลี่ยงการรดลงไปที่ใบหรือลำต้นโดยตรงเพราะอาจจะทำให้เกิดอาการบวมน้ำ ช้ำ และเน่าได้ หรืออาจนำกระถางแคคตัสไปแช่ในกระบะหรืออ่างน้ำตื้น ๆ จนดินในกระถางชุ่มน้ำดีจึงยกออก เมื่อไหร่ที่สังเกตเห็นว่าดินหรือวัสดุปลูกเริ่มแห้ง แตก ก็สามารถรดน้ำได้ใหม่อีกครั้ง 

2. แสงแดด

โดยธรรมชาติของต้นแคคตัสที่อยู่ในช่วงกำลังโตจะต้องได้รับแสงแดดอย่างน้อย 5-8 ชั่วโมง/วัน สำหรับแดดในประเทศไทยที่ค่อนข้างแรงสามารถนำต้นแคคตัสไปวางเพื่อรับแดดในช่วงครึ่งวันเช้า และวางหลบแดดในที่ที่มีแสงรำไรในช่วงบ่าย หรือหากไม่สะดวกเคลื่อนย้ายกระถางตลอดวัน สามารถใช้สแลนกรองแสงที่กรองแสงได้ประมาณ 50-60% เพื่อช่วยลดทอนปริมาณแสงให้น้อยลง ควรระมัดระวังไม่ให้แคคตัสได้รับแดดมากเกินไปเพราะจะทำให้เกิดอาการไหม้แดด และหากแคคตัสได้รับแสงแดดไม่พอก็อาจทำให้เติบโตได้ช้า แคคตัสไม่ออกดอกหรืออาจทำให้ต้นยืดและเสียทรงได้ 

3. การเลือกใช้กระถางเพื่อปลูกต้นแคคตัส

สิ่งแรกที่ควรให้ความสำคัญในการเลือกกระถางสำหรับปลูกต้นแคคตัส คือ ขนาดของกระถาง โดยไม่ควรเลือกกระถางที่มีขนาดใหญ่มากเกินไปเพราะจะยิ่งทำให้วัสดุปลูกสะสมความชื้นไว้มากเกินความจำเป็นจนส่งผลให้ต้นและรากของแคคตัสเน่าได้ ควรเลือกกระถางที่มีขนาดใหญ่กว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของต้นแคคตัสเพียงเล็กน้อย (ไม่เกิน 2 นิ้ว) เพื่อให้มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการขยายตัวของรากหรือหากเป็นต้นแคคตัสที่มีทรงสูง ควรเลือกใช้กระถางที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณครึ่งหนึ่งของความสูงของต้น

ถัดมาคือลักษณะของกระถางปลูกแคคตัส ควรเลือกกระถางที่สามารถระบายน้ำและความชื้นได้ดี อาจเลือกเป็นกระถางที่มีรูระบายน้ำตรงก้นกระถาง เพื่อป้องกันโรคเชื้อรา ลำต้นเน่าหรือรากเน่า

แคคตัส การเลี้ยง

4. วัสดุปลูกแคคตัส

ลักษณะของวัสดุปลูกแคคตัสที่ดี ควรมีคุณลักษณะเหล่านี้

  • มีความโปร่งและร่วนซุย ระบายอากาศและน้ำได้ดี สามารถดูดซับความชื้นไว้กับตัวได้ระดับหนึ่งแต่ไม่ควรเก็บความชื้นได้มากเกินไป 
  • มีสภาพเป็นกรดอ่อน ๆ โดยมีค่า pH ระหว่าง 6.5-7.0 
  • อุดมไปด้วยแร่ธาตุและสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของต้นแคคตัส 

ซึ่งวัสดุสำหรับปลูกแคคตัสมีให้เลือกใช้หลากหลายชนิด ทั้งดินผสมปุ๋ยหมัก ดินใบก้ามปู พีทมอส (Peamoss) หินภูเขาไฟ (Pumice) เพอร์ไลท์ (Perlite) เวอร์มิคูไลท์ (Vermiculite) ทรายหยาบ (Sand) กาบมะพร้าวหรือขุยมะพร้าว ถ่านป่น เป็นต้น โดยสามารถปรับสัดส่วนของดินปลูกแคคตัสให้มีความเหมาะสมกับสายพันธุ์ของต้นแคคตัสและสภาพแวดล้อมของสถานที่ปลูก

5. การใส่ปุ๋ยบำรุงแคคตัส

เพื่อช่วยบำรุงให้ต้นแคคตัสเจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์แข็งแรงและออกดอกสวยงาม ควรบำรุงต้นแคคตัสด้วยการใส่ปุ๋ยบำรุงสูตรเฉพาะของต้นแคคตัสที่มีฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมสูงกว่าไนโตรเจน ปุ๋ยที่นิยมใช้สำหรับการปลูกแคคตัสคือ ปุ๋ยออสโมโค้ท สูตร 13-13-13 ที่เป็นปุ๋ยที่ละลายช้า เมื่อใส่แล้วอยู่ได้นาน 3-4 เดือน หรืออาจใส่เป็นปุ๋ยมูลไส้เดือนก็ได้เช่นเดียวกัน ใน 1 ปี สามารถให้ปุ๋ยแคคตัสได้ประมาณ 2-3 ครั้ง โดยผสมปุ๋ยกับวัสดุปลูกเมื่อต้องเปลี่ยนกระถางปลูกใหม่ ปริมาณการใช้ปุ๋ยออสโมโค้ทที่แนะนำ คือ

  • กระถางขนาด 5 นิ้ว ใช้ปุ๋ยออสโมโค้ทประมาณ 5 กรัม (1 ช้อนชา)
  • กระถางขนาด 10 นิ้ว ใช้ 10 กรัม (2 ช้อนชา)
  • กระถางขนาด 20 นิ้ว ใช้ 20 กรัม (4 ช้อนชา)

6. การย้ายกระถางต้นแคคตัส

ควรเปลี่ยนกระถางหรือย้ายกระถางต้นแคคตัสทุก ๆ 6-12 เดือน เพื่อให้ต้นสามารถเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ ไม่หยุดชะงักการเติบโตเพราะกระถางแน่นเกินไปหรือเพราะมีเชื้อโรค/ศัตรูพืชอยู่ในกระถาง โดยมีขั้นตอนในการย้ายกระถางต้นแคคตัส ดังนี้

  • ก่อนเปลี่ยนกระถางให้หยุดรดน้ำประมาณ 3-7 วัน เพื่อให้ดินแห้งและสามารถนำออกจากกระถางได้ง่ายขึ้น โดยใช้วิธีการบีบที่กระถางเบา ๆ แล้วคว่ำกระถางลง หรืออาจใช้นิ้วมือหรือไม้ค่อย ๆ ดันผ่านรูระบายน้ำที่บริเวณก้นกระถางเพื่อดันให้ต้นแคคตัสหลุดออกจากกระถาง
  • ล้างทำความสะอาดเศษดินออกจากรากอย่างเบามือ จากนั้นตัดแต่งรากฝอยให้มีขนาดเหมาะสมและทิ้งให้แผลที่รากแห้งสนิท เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการรากเน่าหลังย้ายกระถาง ด้วยการตั้งต้นแคคตัสไว้ในที่ร่มประมาณ 4-7 วัน
  • เตรียมกระถางใหม่ที่มีขนาดเหมาะสมกับขนาดของต้นแคคตัส จากนั้นใส่วัสดุรองกระถาง ตามด้วยดินปลูกที่ผสมเตรียมไว้และนำต้นแคคตัสลงไปปลูกในกระถางใหม่

หมายเหตุ

  • ควรเปลี่ยนกระถางในช่วงที่อากาศแห้งหรือหน้าร้อน เพื่อป้องกันปัญหาต้นแคคตัสเน่าหรือรากเน่า
  • ในช่วง 4-7 วันแรกหลังย้ายกระถางใหม่ ให้หยุดรดน้ำไปก่อน เพื่อป้องกันอาการรากเน่า ที่เกิดจากรากมีรอยแผลหรือรอยช้ำหลังการย้ายกระถาง
  • ในช่วง 4-7 วัน หลังย้ายกระถางและเปลี่ยนดิน ให้วางกระถางไว้บริเวณที่มีแสงรำไร ไม่สัมผัสกับแดดโดยตรง 
แคคตัส การขยายพันธุ์

7. การขยายพันธุ์ต้นแคคตัส

สำหรับนักปลูกที่ต้องการขยายพันธุ์ต้นแคคตัส สามารถเลือกขยายพันธุ์ได้หลายวิธี ดังนี้

  • การเพาะเมล็ด ด้วยการนำเมล็ดที่ร่วงออกจากผลหรือฝักมาเพาะพันธุ์กล้า ใช้เวลาในการเพาะประมาณ 5-6 เดือนหรืออาจใช้เวลามากกว่านี้ในบางสายพันธุ์
  • การปักชำหน่อหรือการปักชำใบ เป็นวิธีการขยายพันธุ์ต้นแคคตัสที่ทำได้ง่าย ใช้เวลาไม่นาน ด้วยการใช้หน่อที่มีขนาดโตกำลังดี มีสีเขียวเข้ม หรือในกรณีที่ปักชำใบ ให้เด็ดใบชิดกับส่วนโคนมากที่สุด จากนั้นนำมาปักลงในวัสดุปลูกที่เตรียมเอาไว้ การขยายพันธุ์แคคตัสด้วยวิธีการปักชำ ใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ก็จะเริ่มติดราก 
  • การต่อยอดหรือการกราฟต์ (Graft) ด้วยการนำหน่อพันธุ์ของต้นแคคตัสที่ต้องการขยายพันธุ์มาต่อยอดบนต้นแคคตัสที่เตรียมไว้เพื่อเป็นตอ ข้อดีของการกราฟต์คือช่วยย่นระยะเวลาในการเลี้ยงดูหน่อพันธุ์ให้สั้นลงและเพิ่มอัตราการรอดของหน่อพันธุ์ 

8. วิธีสังเกตโรคในแคคตัส

นอกไปจากการเลี้ยงดูต้นแคคตัสอย่างถูกต้องและเหมาะสมแล้วนั้น ยังต้องคอยสังเกตอาการโรคของต้นแคคตัสอยู่เสมอ ยิ่งสังเกตได้ไวมากเท่าไหร่ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสการรอดของต้นแคคตัสได้มากเท่านั้น โดยอาการโรคที่พบได้บ่อยในต้นแคคตัส ได้แก่

  • โรคเน่า (Rot) เป็นโรคที่พบได้บ่อยเมื่อต้นแคคตัสได้รับความชื้นมากเกินไปหรือในช่วงหน้าฝนที่ฝนตกบ่อย อาการของโรคคือ ต้นจะนิ่มและฟีบ สีของต้นเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือน้ำตาล ยอดไม่เดิน และส่งผลให้ต้นตายไปในที่สุด
  • โรคราสนิม (Rust) เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากความชื้นส่วนเกินที่หน้าดินปลูกหรืออาจได้รับเชื้อจากต้นไม้อื่น ๆ ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง ลักษณะอาการของโรคราสนิมคือ มีรอยคราบสีน้ำตาลเข้มคล้ายสนิม มักพบที่บริเวณโคนต้น จากนั้นจึงแพร่กระจายไปทั่วทั้งต้นและลุกลามไปยังต้นอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงอย่างรวดเร็ว
  • เพลี้ยแป้ง (Mealybug) เป็นแมลงศัตรูพืชชนิดหนึ่ง มีเส้นใยสีขาวปกคลุมรอบลำตัวคล้ายผงแป้ง โดยเพลี้ยแป้งจะใช้ปากดูดเอาน้ำเลี้ยงที่บริเวณยอดและลำต้นของแคคตัส ทำให้ยอดไม่เดิน ส่งผลให้การเจริญเติบโตหยุดชะงัก และทำให้ต้นตายได้

หากตรวจพบว่าต้นแคคตัสที่เลี้ยงมีอาการเหล่านี้หรือมีลักษณะอาการที่ผิดปกติ การเจริญเติบโตของต้นหยุดชะงัก ให้สันนิษฐานเบื้องต้นว่าต้นแคคตัสเริ่มมีอาการของโรคและควรรีบแยกกระถางแคคตัสที่มีอาการออกจากต้นอื่น ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจายและลุกลามไปยังต้นใกล้เคียง หลังจากนั้นจึงรักษาโรคอย่างเหมาะสมด้วยการกรีดหรือตัดบริเวณที่มีเชื้อออก รวมถึงการทายาหรือการพ่นยารักษาโรค เพื่อให้ต้นแคคตัสกลับมาแข็งแรง ยืนต้นสวยงามได้อีกครั้ง

ราคาแคตัสในท้องตลาด

สำหรับมือใหม่นั้นอาจเคยได้ยินชื่อกระบองเพชรพันธุ์ต่างๆ เช่น ยิมโน,แมมขนแกะ,ถังทอง หรือ หูกระต่าย มาบ้าง ซึ่งจริงๆยังมีอีกหลายสายพันธุ์ โดยราคาตามตลาดทั่วไปจะเริ่มต้นทั่วไปอยู่ที่หลักสิบอาจไต่ไปจนถึงหลักแสน โดยเรทราคาแคคตัสจะแปรผันตามความต้องการของตลาดและกระแสสังคมในแต่ละช่วงเวลา ส่วนปัจจัยรองอื่นๆ อาทิ ความหายากของสายพันธุ์ ขนาดต้น สีออกด่าง และลวดลายที่แปลกตาไม่เหมือนใคร เป็นต้น

สรุป

Custus ถือเป็นต้นไม้ที่จะปลูกประดับบ้านก็สวย จัดสวนก็เข้ากัน หรือนำไปวางแต่งโต๊ะทำงานก็ดี แถมช่วงฤดูยังออกดอกมาให้เรามองเห็นให้สวยงามบานใจอีกด้วย โดยวันนี้พวกเราก็ได้นำ 10 สายพันธุ์แคคตัสไร้หนามพร้อมวิธีเลี้ยง มาให้ได้รับชมกันครบแล้ว รักชอบแบบไหน ก็ลองหามาปลูกมาเลี้ยงกันดูได้เลย

บทความน่าสนใจอื่นๆ

RECENT POSTS